มีหลายกรณีที่ต้องตรวจ plarynx และ larynx โดยละเอียดเพื่อการตรวจวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาผู้ป่วย
อุปกรณ์ได้แก่ Indirect laryngoscopeหรือกระจกของทันตกรรม ไฟที่ติดกับศรีษะ [head light],ตะเกียงลนกระจกหรือสารป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะกระจก
ผู้ตรวจนั่งตรงข้ามต่ำกว่าผู้ป่วยเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างแลบลิ้นออกมา, เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะกระจกอาจอุ่นด้วยความร้อนให้สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายเล็กน้อยหรือใช้สารป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะ ค่อย ๆ จับส่วนหน้าของลิ้นด้วยผ้าก็อส ดึงลิ้นออกอย่างนิ่มนวล บอกให้ผู้ป่วยค่อย ๆ หายใจผ่านทางปาก, เพื่อป้องกันการเกิด gag reflex พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผนังของช่องปาก soft palate และ posterior oropharyngeal walll ค่อย ๆใส่กระจกเข้าไปจนมองเห็น pharynx และ hypopharynx โดย right vocal cord จะอยู่ทางด้านซ้ายของกระจก และ left vocal cord จะอยู่ทางด้านขวาของกระจก บอกให้ผู้ป่วย ร้อง “อี้”เพื่อดูการเคลื่อนไหวของ vocal cords และ arytenoid cartilages จะพบ vocal cords มีลักษณะเป็นเส้นยาวคู่กันอยู่ในแนวกลาง จะมองเห็น ส่วนหน้าของ larynx หลังจากนั้นบอกให้ผู้ป่วย ร้อง “อี้” ด้วยเสียงที่สูงขึ้น จะทำให้เห็น anterior commissure ได้โดยตลอด เพื่อให้มองเห็นมากยิ่งขึ้นอาจให้ผู้ป่วยยืนขึ้นร่วมกับการพลิกกระจกดูรายละเอียดในระหว่างการตรวจ นอกจากนั้น oropharyngeal lecula, base of the tongue และ, hypopharynx (pyriform sinuses และ posterior pharyngeal wall) ก็สามารถมองเห็นได้จากการตรวจนี้
จะมีบ้างที่ไม่สามารถตรวจได้เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการตรวจได้ มี gag reflex รุนแรง สามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่นยาชาชนิดพ่นในคอได้ ถ้ายังไม่สามารถทำได้อีกก็ค่อยตรวจโดยการใช้ flexible laryngoscopic
เห็นไหมครับว่าอุปกรณ์ที่หาได้ไม่ยาก วิธีการตรวจก็ค่อนข้างปลอดภัยสามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยได้มาก โดยเฉพาะใน รพช.ที่ยังไม่มีแพทย์หูคอจมูก ยังไม่มี flexible laryngoscopic เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว
อุปกรณ์ได้แก่ Indirect laryngoscopeหรือกระจกของทันตกรรม ไฟที่ติดกับศรีษะ [head light],ตะเกียงลนกระจกหรือสารป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะกระจก
ผู้ตรวจนั่งตรงข้ามต่ำกว่าผู้ป่วยเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างแลบลิ้นออกมา, เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะกระจกอาจอุ่นด้วยความร้อนให้สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายเล็กน้อยหรือใช้สารป้องกันการเกิดไอน้ำเกาะ ค่อย ๆ จับส่วนหน้าของลิ้นด้วยผ้าก็อส ดึงลิ้นออกอย่างนิ่มนวล บอกให้ผู้ป่วยค่อย ๆ หายใจผ่านทางปาก, เพื่อป้องกันการเกิด gag reflex พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผนังของช่องปาก soft palate และ posterior oropharyngeal walll ค่อย ๆใส่กระจกเข้าไปจนมองเห็น pharynx และ hypopharynx โดย right vocal cord จะอยู่ทางด้านซ้ายของกระจก และ left vocal cord จะอยู่ทางด้านขวาของกระจก บอกให้ผู้ป่วย ร้อง “อี้”เพื่อดูการเคลื่อนไหวของ vocal cords และ arytenoid cartilages จะพบ vocal cords มีลักษณะเป็นเส้นยาวคู่กันอยู่ในแนวกลาง จะมองเห็น ส่วนหน้าของ larynx หลังจากนั้นบอกให้ผู้ป่วย ร้อง “อี้” ด้วยเสียงที่สูงขึ้น จะทำให้เห็น anterior commissure ได้โดยตลอด เพื่อให้มองเห็นมากยิ่งขึ้นอาจให้ผู้ป่วยยืนขึ้นร่วมกับการพลิกกระจกดูรายละเอียดในระหว่างการตรวจ นอกจากนั้น oropharyngeal lecula, base of the tongue และ, hypopharynx (pyriform sinuses และ posterior pharyngeal wall) ก็สามารถมองเห็นได้จากการตรวจนี้
จะมีบ้างที่ไม่สามารถตรวจได้เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการตรวจได้ มี gag reflex รุนแรง สามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่นยาชาชนิดพ่นในคอได้ ถ้ายังไม่สามารถทำได้อีกก็ค่อยตรวจโดยการใช้ flexible laryngoscopic
เห็นไหมครับว่าอุปกรณ์ที่หาได้ไม่ยาก วิธีการตรวจก็ค่อนข้างปลอดภัยสามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยได้มาก โดยเฉพาะใน รพช.ที่ยังไม่มีแพทย์หูคอจมูก ยังไม่มี flexible laryngoscopic เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว
http://content.nejm.org/cgi/content/short/358/3/e2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น