หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

173. Renal-Artery Stenosis

เกิดข้อผิดพลาดหัวข้อ 173 ขึ้นมาอยู่ด้านบนสุด กำลังแก้ไขครับ


Renal-Artery Stenosis
Clinical practice 
The new england journal of medicine  november 12, 2009

Renal-artery stenosis คือการตีบแคบ ของ renal artery หนึ่งหรือสองข้างหรือเป็นที่แขนง โดยพบได้ 0.5% ในประชากรทั่วไปและพบเพิ่มเป็น 5.5 % ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก atherosclerosis รองลงมาได้แก่ fibromuscular dysplasia สาเหตุที่นอกเหนือจากนี้เจอน้อยมาก การตรวจวินิจฉัย renal-artery stenosis ควรทำในผู้ป่วยที่มีประวัติ ความดันโลหิตสูงรุนแรงหรือที่ดื้อต่อการรักษา ความดันโลหิตสูงที่สัมพันธ์กับการทำงานของไตบกพร่องหรือสัมพันธ์กับโรคของเส้นเลือด เบื้องต้นคือการตรวจการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือด การวินิจฉัยโดยการดูจาก anatomical สามารถทำได้โดย duplex ultrasonography ถ้าไม่สามารถทำได้อาจตรวจโดย CTA or MRAในกรณีของความดันโลหิตสูง ยาที่ยับยั้ง renin–angiotensin–aldosterone system [ACEI และ ARB] เป็นยาที่แนะนำ แต่ต้องมีการติดตามระดับของcreatinine and potassium อย่างใกล้ชิดในช่วงแรกที่เริ่มให้ยาและเมื่อเพิ่มขนาดยา ส่วนยาอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้แก่ alpha-blocker, beta-blocker, long-acting calcium-channel antagonist และ diuretic ในเรื่องการรักษา ยาอื่นที่ควรใช้ได้แก่ statins และ antiplatelet เพราะช่วยในเรื่อง atherosclerotic ส่วนการทำ revascularization ใน atherosclerotic renal-artery ยังcontroversial โดยข้อมูลจาก randomized trial ยังไม่เห็นประโยชน์ที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยการใช้ยา แต่ควรสำรองไว้ในกรณีที่ให้การรักษาด้วยยาจนเต็มที่แล้วยังไม่ได้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น