นิ้วล็อกในภาษาอังกฤษเรียกว่า Trigger finger โดยที่นิ้วมือในผู้ป่วย เวลางอ หรือ เหยียดจะมีเสียงเหมือนการง้างไกรปืน ส่วนคำว่านิ้วล็อก เป็นคำทับศัพท์ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Locked finger ทำให้คนไทยเข้าใจโรคนิ้วล็อกได้ดีมาก โรคนี้พบในผู้หญิงราวร้อยละ 60 ในผู้ชายร้อยละ 40 แต่จะพบได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้มือทำงาน ในลักษณะที่เกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้าน แม่ครัวที่ต้องใช้มือทำงานมากๆ เป็นต้น พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอาการเสียสัดส่วนของ flexor digitorum superficialis flexordigitorum profundus tendons ซึ่งเป็นเอ็นที่ใช้งอนิ้วมือ และการหนาตัวขึ้นของปลอดหุ้มเส้นเอ็นที่อยู่รอบๆ ในตำแหน่งปลายมือบริเวณ first annular pulley (A1 Pulley) ในผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่ระดับที่ 1 – 3 จะแนะนำให้ฉีดยา สเตียรอยด์เฉพาะ จะได้ผลดี และหายกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ในรายงานบางแห่งได้ผลดีและหายถึงกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 30 - 40 อาการล็อกจะกลับมาเป็นอีกได้ ในกลุ่มที่กลับมาเป็นใหม่นี้ จะให้มีการฉีดยาสเตียรอยด์ซ้ำได้ 2 - 3 ครั้ง โอกาสที่จะดีขึ้น และหายจะมีบ้างแต่น้อยมาก แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดรักษาจะดีกว่า เพราะการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำ ๆ หลายครั้งจะไม่ทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าใน รพ.ที่ไม่มีแพทย์ออร์โธปิดิกส์ อาจต้อง refer หรืออาจไปศึกษาฝึกการฉีดสเตียรอยด์ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นไม่มาก
http://74.125.153.132/search?q=cache:YK2DZ0tqonIJ:www.srivichaihospital.com/triggerfinger.html+trigger+finger&cd=11&hl=th&ct=clnk&gl=th
triger finger ใช่ปะ่
ตอบลบต้องฉีดยา steroid หรือ ผ่าตัด