2. อาการทั่วไป : เลือดออกผิดปกติตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกตามรอยแผลเขี้ยวที่ถูกกัดและรอยเขียวช้ำ อาจมีเลือดออกในกล้ามเนื้อ อาเจียนเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
ข้อบ่งชี้ของการให้เซรุ่มแก้พิษงู
1.เลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกทางเดินอาหาร2.ค่าการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ venous clotting time มากกว่า30 นาที
4.เกร็ดเลือดน้อยกว่า 10,000
การใช้เซรุ่มต้านพิษงู สามารถลดอาการบวมของแผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่อาจเพียงพอทางคลินิค และพบอีกว่า เซรุ่มไม่สามารถป้องกันการเกิดเนื้อเน่าตายบริเวณแผลได้
ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกัน (prophylactic antibiotics) เนื่องจากมีหลักฐานว่าโอกาสติดเชื้อของแผลไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะตามข้อบ่งชี้เพื่อรักษา เช่น ในกรณีที่แผลค่อนข้างสกปรก หรือถูกกระทำการบางอย่างมาก่อน ได้แก่ เอาปากดูดพิษออก กรีดแผลมาก่อน เอาดินหรือสมุนไพรพอกแผล เป็นต้น. นอกจากนี้ ถ้ามีอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลอย่าง ชัดเจน ควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย. ยาปฏิชีวนะที่เลือกให้ควรครอบคลุมทั้งเชื้อที่เป็นแกรมบวก แกรมลบ และเชื้อที่ไม่ใช้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโต (anaerobe).
ให้ทําการ debridement และ unroof hemorrhagic bleb บริเวณนิ้ว และทําfasciotomy ในกรณี compartment syndrome แต่ทั้งนี้จะทําได้ต่อเมื่อ VCT ปกติ และอย่าลืมให้ TT เมื่อ VCT ปกติ หากแผลสกปรกมาก ควรพิจารณาให้ tetanus antitoxin ด้วย.
ปกติถือ VCT เป็นหลัก คิดว่าไม่ให้ antivenom คนนี้เป็น Compartment syndrome ควรได้ antibiotics + fasciotomy
ตอบลบคนนี้ ผมroundเอง ยังไม่มี Paresthesia, No painful extension, Peripheral perfusion ดี Cappillary refill <2 sec. Full radial a. pulse. Not pale. คิดว่ายังไม่มี clinical compartment syndrome ครับ
ตอบลบ