The New England Journal of Medicine October 29, 2009
จากสรุปของบทความบอกว่า: การป้องกันสามารถใช้กับทั้งผู้ที่สัมผัสจากการปฎิบัติงานและไม่ใช่ผู้ปฎิบัติงาน โดยข้อมูลพบว่าประสบความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อได้ประมาณ 80% การป้องกันควรทำในผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดต่อ โดยทั่วไปใช้ที่อย่างน้อย 0.1% ของอัตราการติดต่อจากผู้ที่ติดเชื้อ [ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ปฎิบัติงานแล้วถูกเข็มทิ่มตำโดยผู้ป่วยนั้นติดเชื้ออยู่แล้ว จะมีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ยอยู่ประมาณ 0.3%] หรือในกรณีไม่ทราบผลเลือดแต่เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิด HIV ซึ่งการให้ยาต้องให้อย่างรวดเร็วหลังการสัมผัสและให้ต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน, Lab ที่ต้องตรวจร่วมด้วยได้แก่ HBV and HCV, โดยสามารถให้วัคซีนป้องกัน HBV และให้ immune globulin สำหรับ HBV ตามข้อบ่งชี้, ส่วนยาในที่นี้แนะนำให้ใช้ tenofovir + emtricitabine เป็นเวลา 28 วัน โดยอาจจะให้หรือไม่ให้ boosted protease inhibitor เช่น ritonavir–lopinavir ก็ได้ อย่างไรก็ตามการให้ยาอื่น 2-3 ชนิดก็สามารถใช้ได้ ความพยายามในการใช้แนวทางดังกล่าวสามารถนำมาจัดทำเป็นโปรแกรมใช้กับศูนย์สุขภาพจิต สถาบันที่ให้การรักษาเกี่ยวกับยาเสพติด หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวการกระทำรุนแรงหรือทารุณกรรม ซึ่งจะช่วยลดการติดต่อของ HIV ได้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งในประเทศไทยเราการใช้ Postexposure Prophylaxis for HIV Infection กระทำอยู่แล้วแต่อาจจะต้องให้การดูแลในกลุ่มผู้ที่สัมผัสที่ไม่ได้เกิดจากการปฎิบัติงาน รวมทั้งให้เขาเข้าใจด้วยว่ามีทางช่วยเหลือป้องกันการติดต่อได้ถ้าเขามาขอคำปรึกษาดูแล แต่นอกเหนืออื่นใดการป้องการไม่ให้เกิดการสัมผัสตั้งแต่แรกก็น่าจะดีและแน่นอนกว่าการมาใช้ยาป้องกันในภายหลัง
มีรายละเอียดน่าสนใจอีกมากมาย http://content.nejm.org/cgi/content/full/361/18/1768
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น