วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

137. Trichinosis/Trichinella spiralis

ชาย 47 ปี กลับจากต่างประเทศ 2 สัปดาห์ ไข้สูง ปวดเมื่อยร่างกาย 6 วัน หน้าบวม ตาบวม PE: Swelling facial ไม่ชัดเจน, No stiffneck, H+L and abdomen: WNL, muscle: no tender point, no skin lesion, CBC และ LFT เป็นดังนี้ คิดถึงอะไร จะให้การรักษาอย่างไร ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอะไร [มีประวัติรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นประจำ และได้ข่าวว่าเพื่อนร่วมงานที่อยู่ต่างประเทศมีอาการคล้ายกันหลายคน ]


การวินิจฉัยโรคทริคิโนสิสจะต้องทำร่วมกันทั้งการตรวจอาการและซักประวัติการกินเนื้อสุกรหรือสัตว์อื่นดิบๆ ของผู้ป่วยและการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเลือดผู้ป่วยจะพบเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอสิโนฟิลเพิ่มสูงผิดปกติอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ในระยะ 1-2 สัปดาห์ของการติดเชื้อปรสิต และคงอยู่นานหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50 จะมีเอนไซม์ของกล้ามเนื้อ เช่น CPK หรือ LDH เพิ่มสูงกว่าปกติ การตรวจวินิจฉัยเพื่อทดสอบแอนติบอดีต่อปรสิต อาจทำได้หลายวิธี แต่ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้วินิจฉัยโรคอยู่มาก เช่น ระยะ 3-4 สัปดาห์แรกของการติดเชื้ออาจยังตรวจไม่พบแอนติบอดี เนื่องจากแอนติบอดีของผู้ป่วยยังอยู่ในระดับต่ำ และที่สำคัญถึงแม้ว่าจะพบผู้ป่วยมีแอนติบอดีต่อ T.spiralis แต่ก็ยังไม่สามารถแยกได้ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้ออยู่ในปัจจุบัน หรือการติดเชื้อปรสิตที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากแอนติบอดีต่อปรสิตจะคงอยู่นานหลายปี วิธีตรวจทางน้ำเหลืองวิทยา มีหลายวิธี ได้แก่ bentonite flocculation test, ELTSA, latex aqqlutination, fluorescent antibody และ complement fixation test ทำให้ตรวจวินิจฉัยได้สะดวกขึ้น วิธี bentonite flocculation test เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งให้ผล positive มากกว่า 90% ในกรณีที่เป็นโรค การวินิจฉัยที่แน่นอนทำโดยตัดกล้ามเนื้อผู้ป่วยเพื่อนำมาตรวจหาตัวอ่อนของปรสิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่วิธีนี้เหมาะที่จะทำเฉพาะในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
อาการที่สำคัญได้แก่ ไข้ ปวดบวมตามกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ คลื่นใส้อาเจียน อาจมีปวดท้อง ท้องเสียได้
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและอาจทำให้เสียชีวิตได้แก่myocarditis, encephalitis or pneumonia ซึ่งมักเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 4 -6 หลังการติดเชื้อ
การรักษา: Glucocorticoid สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากการมี Inflammation (โดยอาจให้ Prednisolone 20-60 mg/d ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
Mebendazole (200-400 mg three times a day for three days) or Albendazole (400 mg twice a day for 8-14 days) แต่ยาจะไม่มาสารถฆ่า Larva ได้
ในผู้ป่วยพบว่าประวัติและอาการเข้าได้ CBC มี eosinophilia LFT มี SGOT, SGPT ขึ้นเป็นตัวบอกทางอ้อมว่าน่าจะมี muscle injury แต่คงต้องตรวจ CPK ดูอีกครั้ง



Progress case 31-10-52: CPK 314 [ N 0-190 U/L] F/U CBC: WBC 12, 700, Eo 10.4 % Clinical improve and can discharge

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น