หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

25.ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ ACEI และ ARB ใน DM

มีคำถามบ่อยมากใน DM clinic เลยจะลองทำข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ ACEI และ ARB ใน DM

สรุปเท่าที่หาข้อมูลได้และมีเวลาทำ ใครมีข้อมูล update หรือแก้ไขก็ส่งความคิดเห็นมานะครับ

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ ACEI และ ARB ใน DM
- เริ่มให้ยาเมื่อ microalbumin dipstick มากกว่า 20 mg/l หรือ microalbuminuria มากกว่าหรือเท่ากับ 30 mg/day หรือ Alb/Cr ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 30 mg/g อย่างน้อย 2 ใน 3 ครั้งในช่วงเวลา 6 เดือนรวมทั้งการมี macroalbuminuria แล้ว โดยไม่มีสาเหตุอื่นของ albuminuria


- Hypertension with DM แม้จะยังไม่มี albuminuria ก็ใช้ ACEI เป็น first line drug

- เริ่ม start จาก low dose ของแต่ละยาปรับขนาดยาตาม ผล urine albumin และ BP โดยสามารปรับได้บ่อยทุก 1 สัปดาห์ถ้าสามารถทำได้ ขนาดของยาได้ผลสูงสุดในการลด albuminuria คือปรับให้ได้ maximum approved dose แต่ควรระวังเรื่อง hypotension ด้วย บางแนวทางให้ปรับเพื่อให้ได้ขนาดสูงสุดที่สามารถทนได้จึงจะได้ผลในการลดความเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่หรืออย่างน้อยครึ่งหนึ่งของขนาดสูงสุดที่สามารถทนได้

- ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มี Cr เท่ากับ 2 mg/dlขึ้นไป [แต่ไม่มี Absolute contraindication ของ Cr ในการใช้ ACEI] หรือ GFR น้อยกว่า 60 ml/min, K+ มากกว่าหรือเท่า 5 mg/dl หรืออาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- มีการตรวจวัดระดับ Cr และ K+ ก่อนเริ่มยา

- ต้องมีการติดตามผลข้างเคียงโดยตรวจ Cr และ K+ ภายในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการเริ่มยา และอาจต้องตรวจซ้ำในกรณีที่มีเพิ่มขนาดยา, มีภาวะขาดสารน้ำ, มีCHF, มีการเพิ่มขนาดยาปัสสาวะ, การเพิ่มยาที่มีผลทำให้ K+ ในเลือดสูงขึ้น

- ถ้าไอมากจากอาจลองหยุดยา ACEI หรือให้เปลี่ยนมาใช้ ARB แต่จะยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เหมือน ACEI [ไอไม่มากและผู้ป่วยยอมรับได้สามารถให้ยาต่อได้]

- ถ้ามีผลข้างเคียงจากทั้ง ACEI และ ARB เลือกใช้ Non DCCB [diltiazem, verapamil] หรือ beta blocker แทน

- Absolute contraindication ของยาทั้งสองคือ bilateral renal artery stenosis, pregnancy, angioedema, มีประวัติเคยแพ้ยาทั้งสองกลุ่มนี้มาก่อน

- ระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาที่อาจทำให้ K+ สูงมากยิ่งขึ้น เช่น spironolactone, K+ sparing diuretic โดยอาจต้องหยุดยาดังกล่าวก่อนเริ่ม ACEI หรือติดตามอย่างใก้ลชิด

- ใน DM ถ้าลด BP ได้ น้อยกว่า 130/80 mmHg. จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ดียิ่งขึ้น

- สามารถใช้ในผู้ป่วย DM แม้ไม่ได้เป็น HT

- ในช่วงแรกอาจจะทำให้ Cr สูงขึ้นได้ถึง 25 - 30% ของค่าเดิมได้ ถ้าเกินนี้ภายใน 2 เดือนแรกให้หยุดยา

- ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนในการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มพร้อมกันตั้งแต่แรกแต่อาจใช้ในกรณีต่อไปนี้

+ เมื่อใช้ ACEI รวมทั้งการปฎิบัติตัวลดและแก้ไขปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงดีแล้ว แต่ความดันโลหิตยังเท่ากับหรือมากกว่า 130/80 mmHg. ก็อาจใช้ ARB ร่วมด้วยได้
+ในกรณีที่ผู้ป่วยมี albuminuria แต่การควบคุมด้วย ACEI ยังไม่ได้ผลเต็มที่ อาจพิจารณาใช้ ARB ร่วมด้วยได้
+ หรือกรณีที่มีผลข้างเคียงไอจาก ACEI อาจลด dose แล้วพิจารณาให้ ARB ร่วมด้วยได้
แต่ก็ควรพิจารณาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ hypotension, syncope, renal impairment รวมทั้งเรื่องราคาของยาด้วย

- ในกรณีที่เกิดภาวะ Hyperkalemia อาจ Monitor ดังนี้

-K+ 5 - 5.5 mEq/dl ตรวจซ้ำ อีก 7 วัน
-K+ 5.6 - 6.0 mEq/dl หยุดยาและตรวจซ้ำอีก 7 วัน
-K+ 6.1 - 6.5 mEq/dl หยุดยาและตรวจเลือดซ้ำโดยเร็ว
-K+ มากกว่า 6.5 mEq/dl หยุดยาและตรวจเลือดซ้ำทันที [เพราะต้องสาเหตุอื่นด้วยเช่นมีภาวะ Hemolysis ]

- Cough เกิดได้ 5-20% พบในหญิงมากกว่าชาย ไม่ สัมพันธ์กับ doseหรือชนิดของ ACEI มักเกิดในช่วง 1 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ถ้าหยุดยาจะมักหายไอในช่วงสัปดาห์แรก
- ยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอจาก ACEI ได้แก่ sodium cromoglycate, theophylline, sulindac, indomethacin, amlodipine, nifedipine, ferrous sulfate, and picotamide

3 ความคิดเห็น:

  1. ที่จำได้นะ
    ACEI สามารถให้ร่วม ARB ได้ใน CKD
    ACEI ใน Non-DM CKD อาจให้ได้ใน Cr 3-5
    รู้สึกว่า FBC ใช้ลดไอได้นะ ไม่แน่ใจ
    ในคนไข้ HT ที่เริ่มยา ACEI แล้ว Cr ขึ้น อาจเป็นจาก Renal stenosis ซึ่งเป็นสาเหตุของ HT ก็ได้
    เท่านี้ก่อนนะครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ2/1/54 00:32

    ขอ Reference ด้วยได้ไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ
  3. รวบรวมจากหลายแหล่ง ถ้าของไทยเช่น แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และของต่างประเทศอีกหลายแหล่ง ถ้ารวบรวมได้จะบอกอีกครั้งครับ

    ตอบลบ