วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

2. Pemphigus valgaris

ผู้ป่วยหญิงอายุ 63 ปี มีประวัติเป็นผื่นตามตัวเป็น ๆ หาย ๆ มา 7 ปี เวลาผื่นขึ้นจะเป็นตุ่มน้ำใส สัมผัสถูกจะแตกง่าย ช่วงนี้เป็นมากมีหนองขึ้นด้วย คิดถึงอะไรครับ จะให้การรักษาอย่างไรดี



คิดถึง Pemphigus valgaris เนื่องจาก เป็นตุ่มน้ำใส ไม่ตึง แตกง่าย [เกิดการแยกตัวของเซลในชั้น epidermis ]การกระจายตัวมักเป็นที่ ใบหน้า คอ รักแร้ ลำตัว บางช่วงของการดำเนินโรคอาจมีแผลในช่องปาก เมื่อตุ่มน้ำแตกออกจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียตามมาและถ้าเป็นรุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ถ้าเป็น Bullous pemphigoid จะเป็นตุ่มน้ำตึงขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าแตกยากเพราะเกิดการแยกตัวของชั้นที่อยู่ใต้ epidermis มักเกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งมักมีรอยโรคที่หน้าท้องด้านล่าง ขาหนีบ ข้อพับแขน -ขา ส่วน Pemphigus อื่น ๆ ยังไม่ค่อยเหมือนเมื่อเทียบกับ Pemphugus valgaris
การรักษาคือ High dose systemic steroid แล้วลดขนาดยาลงเมื่ออาการดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้นอาจให้ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Cyclophosphamide หรือ Azathioprine ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียก็ให้ antibiotic ร่วมด้วย ตลอดจนให้การดูแลแผล โดยอาจใช้ Burow 's solution ประคบแผล, topical antibiotic, antiseptic

1.Type 17 Helper T cell

NEJM MED ล่าสุด [August 27, 2009] ใน หัวข้อ Review articleกล่าวถึง Type 17 Helper T Cells [Th17 cells] โดยเป็น subgroup หนึ่งของ Helper T-Cell [Th] ซึ่งผลิต Interleukin-17 (และยังผลิต Interleukin 21 และ 22 ด้วย)โดย Interleukin-17 มีบทบาทสำคัญในการป้องกันของการเกิดโรคที่เกิดจาก Extracellular bacteria และ Fungi รวมทั้งยังเป็น Pathophysiology of diseases ในโรคเรื้อรังหลายอย่าง จึงเลือกรูปที่สำคัญมาสรุปไว้